การวิเคราะห์หลักสูตร
ในการวิเคราะห์หลักสูตร หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือแนวการจัดการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระนั้น คุณครูต้องนำมาตรฐาน ตัวชี้วัด สาระแกนกลาง กรอบสาระท้องถิ่นของเขตพื้นที่ สมรรถนะที่สำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์มาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา การออกแบบหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมี ความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดี ย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน เช่น การกำหนดลักษณะทั่วไป ซึ่งได้แก่ อายุ ระดับความรู้ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของผู้เรียนแต่ละคน ถึงแม้ว่าลักษณะทั่วไปของผู้เรียนจะไม่มี ความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียนก็ตามแต่ก็เป็น สิ่งที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถตัดสินระดับของ เนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้ ส่วนลักษณะเฉพาะของผู้เรียนแต่ละคนนั้น นับว่ามีส่วนสำคัญโดยตรงกับ เนื้อหาบทเรียนตลอดจนสื่อการสอนและวิธีการที่จะนำมาใช้ในการสอน การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย การสอนโดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ จะช่วยพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ทั้งด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ (ลักษณะนิสัย) และทั้งด้านการใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน
สื่อการเรียนรู้ หรือ สื่อการเรียนการสอน เป็นตัวกลางให้ผู้สอนได้ถ่ายทอดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ความคิดเห็น และเจตคติ ไปสู่ผู้เรียน รวมทั้งการใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง สื่อการเรียนรู้ครอบคลุมทั้งวัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยี และวิธีการการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ การวัดและประเมินผลเป็นส่วนสำคัญของการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลจึงต้องปรับเปลี่ยนไป ให้มีลักษณะเป็นการประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และประเมินผลตามสภาพจริงด้วย
ในการวิเคราะห์หลักสูตร หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือแนวการจัดการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระนั้น คุณครูต้องนำมาตรฐาน ตัวชี้วัด สาระแกนกลาง กรอบสาระท้องถิ่นของเขตพื้นที่ สมรรถนะที่สำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์มาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา การออกแบบหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมี ความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดี ย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน เช่น การกำหนดลักษณะทั่วไป ซึ่งได้แก่ อายุ ระดับความรู้ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของผู้เรียนแต่ละคน ถึงแม้ว่าลักษณะทั่วไปของผู้เรียนจะไม่มี ความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียนก็ตามแต่ก็เป็น สิ่งที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถตัดสินระดับของ เนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้ ส่วนลักษณะเฉพาะของผู้เรียนแต่ละคนนั้น นับว่ามีส่วนสำคัญโดยตรงกับ เนื้อหาบทเรียนตลอดจนสื่อการสอนและวิธีการที่จะนำมาใช้ในการสอน การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย การสอนโดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ จะช่วยพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ทั้งด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ (ลักษณะนิสัย) และทั้งด้านการใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน
สื่อการเรียนรู้ หรือ สื่อการเรียนการสอน เป็นตัวกลางให้ผู้สอนได้ถ่ายทอดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ความคิดเห็น และเจตคติ ไปสู่ผู้เรียน รวมทั้งการใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง สื่อการเรียนรู้ครอบคลุมทั้งวัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยี และวิธีการการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ การวัดและประเมินผลเป็นส่วนสำคัญของการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลจึงต้องปรับเปลี่ยนไป ให้มีลักษณะเป็นการประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และประเมินผลตามสภาพจริงด้วย
การประเมินผลตามสภาพจริง เป็นการประเมินผลผู้เรียนรอบด้านตามสภาพจริงของผู้เรียน มีลักษณะสำคัญดังนี้
- เน้นการประเมินที่ดำเนินการไปพร้อม ๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งสามารถทำได้ตลอดเวลา ทุกสภาพการณ์
- เน้นการประเมินที่ยึดพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนจริง ๆ
- เน้นการพัฒนาจุดเด่นของผู้เรียนใช้ข้อมูลที่หลากหลาย ด้วยเครื่องมือที่หลากหลายและสอดคล้องกับวิธีการประเมิน ตลอดจนจุดประสงค์ในการประเมิน
- เน้นคุณภาพผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ ความสามารถหลายๆ ด้าน
การประเมินด้านความคิด เน้นความคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์
เน้นให้ผู้เรียนประเมินตนเอง และการมีส่วนร่วมในการประเมินของผู้เรียน ผู้ปกครอง และครู
การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ ก่อน นำไปใช้ ครูต้องเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการประเมินตามสภาพจริง
- เน้นการประเมินที่ยึดพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนจริง ๆ
- เน้นการพัฒนาจุดเด่นของผู้เรียนใช้ข้อมูลที่หลากหลาย ด้วยเครื่องมือที่หลากหลายและสอดคล้องกับวิธีการประเมิน ตลอดจนจุดประสงค์ในการประเมิน
- เน้นคุณภาพผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ ความสามารถหลายๆ ด้าน
การประเมินด้านความคิด เน้นความคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์
เน้นให้ผู้เรียนประเมินตนเอง และการมีส่วนร่วมในการประเมินของผู้เรียน ผู้ปกครอง และครู
การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ ก่อน นำไปใช้ ครูต้องเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการประเมินตามสภาพจริง
ที่สำคัญที่สุด คือ การศึกษาด้วยตนเองและลงมือปฏิบัติจริง พัฒนาความรู้จากการลงมือปฏิบัติการแนะนำให้ผู้เรียนจัดทำแฟ้มสะสมงาน แฟ้มสะสมงานของผู้เรียน นอกจากจะแสดงพัฒนาการของผู้เรียนแล้ว ยังเป็นการสะท้อนการสอนของครู เพื่อจะนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชา สังคมศึกษา ส 33101
สาระหน้าที่พลเมืองฯ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1/2554 ผู้สอนนางสาวอรชร วรรณคง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย เวลาเรียน 2 คาบ
1.สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
2.มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ส 2.1 ปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดีตามกฎหมาย ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และสังคมโลกอย่างสันติสุข
3.มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
มาตรฐาน ส 2.1.1. ตระหนักถึงคุณค่าในความเป็นพลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตยของตนเองและบุคคลอื่นที่มีศักยภาพในการทำประโยชน์ให้แก่สังคมและประเทศชาติ
มาตรฐาน ส 2.1.2. ตระหนักถึงสถานภาพ บทบาท สิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ในฐานะพลเมืองดีของสังคมและประเทศ เข้าใจความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชน เพื่อคุ้มครองปกป้องตนเองและคนอื่นให้ดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างสันติสุข ตลอดจนปฏิบัติตนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ
4.สาระสำคัญ
ในสังคมของเรามีคนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นเพื่อให้สมาชิกของสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข จำเป็นต้องมีแนวทางหรือกฎระเบียบให้คนในสังคมประพฤติปฏิบัติ เนื่องจากในสังคมมีระบอบการเมืองการปกครอง วัฒนธรรม ประเพณี และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน จึงมีกฎระเบียบให้ทุกคนยึดถือปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป ในสังคมประชาธิปไตยสมาชิกในสังคมควรปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีด้วยการปฏิบัติตามกฎหมาย หลักธรรมของศาสนา ประเพณีวัฒนธรรมไทย ดังนั้นทุกคนในสังคมประชาธิปไตยจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย หลักคำสอนทางศาสนา และประเพณีวัฒนธรรม เพื่อจะได้นำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง สังคมส่วนรวม และประเทศชาติ
5.ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. อธิบายการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคมได้
2. อธิบายการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยได้
6.วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ด้านพุทธพิสัย (Knowledge)
1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคมได้
2. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และเข้าใจในการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยได้
ด้านทักษะพิสัย (Process)
1. นักเรียนสามารถบอกขั้นตอนและอธิบาย หรือ วิเคราะห์ การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของ
สังคมและการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยได้
ด้านจิตพิสัย(Affective)
1. นักเรียนสามารถประพฤติปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคมตามหลักคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม และประเพณีไทย ในสังคมปัจจุบันได้
7.เนื้อหาสาระ
ความเป็นพลเมืองดี
- พลเมืองดี รู้ และปฏิบัติตามกฎหมาย
- พลเมืองดีมีจริยธรรม คุณธรรม ยึดมั่นในศีลธรรมของศาสนาเพื่อการอยู่ร่วมกัน
- พลเมืองดีรักษาวัฒนธรรมประเพณี
- พลเมืองดีรักษาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- พลเมืองดีสร้างความเจริญก้าวหน้าแก่ชาติบ้านเมือง
8.กระบวนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ใช้เวลา 2 คาบ แบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 ตอน เพื่อสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้
คาบเรียนที่ 1 เรื่อง พลเมืองดี รู้ และปฏิบัติตามกฎหมาย และพลเมืองดีมีจริยธรรม คุณธรรม ยึดมั่นในศีลธรรมของศาสนาเพื่อการอยู่ร่วมกัน
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.ครูให้นักเรียนชมวีดีทัศน์ เรื่อง โครงการคุณธรรมนำไทย เวลาประมาณ 2-4 นาทีแล้วสนทนาตั้งประเด็นคำถาม ดังเช่น
- นักเรียนดูวีดีทัศน์ นักเรียนสังเกตุเห็นสิ่งใดบ้าง อะไรบ้าง
- นักเรียนดูแล้วเกิดความรู้สึกอย่างไร แสดงความคิดเห็นอย่างไร
2.ครูนำบัตรคำ คำว่า พลเมือง พลเมืองดี ถามนักเรียนว่า 2 คำนี้มีความหมายว่าอย่างไร และมีส่วนเกี่ยวข้องกับวีดีทัศน์หรือไม่ อย่างไร
3.ครูแจ้งให้นักเรียนทราบว่าในคาบเรียนนี้จะเรียนกันเรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
ขั้นสอน
1.ครูแจกใบความรู้เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยและให้นักเรียนศึกษาใบความรู้
2.ครูอธิบายความเป็นพลเมืองดี พร้อมให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ไปพร้อมๆกัน
3.ครูให้นักเรียนทำใบงานจากประเด็นคำถามต่อไปนี้
1.หากทุกคนในสังคมประพฤติตามหลักจริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรมแล้วจะมีส่วนช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและประเทศชาติอย่างไรบ้าง
2.นักเรียนมีวิธีการปฏิบัติตนเพื่อทำหน้าที่พลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยอย่างไร
4.ครูสุ่มนักเรียนออกมาเสนอใบงานหน้าชั้นเรียน
ขั้นสรุป
1.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหาเรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย สลับกับอธิบายวีดีทัศน์เพิ่มเติม
คาบเรียนที่ 2 พลเมืองดีแบบประชาธิปไตย
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.ครูนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาอ่านให้นักเรียนฟัง เรื่องความเพียร และซักถามประเด็นดังเช่น
- นักเรียนฟังพระบรมราโชวาทแล้วนักเรียนเกิดความคิดเห็นอย่างไร
2.ครูแจ้งให้นักเรียนทราบว่าในคาบเรียนนี้จะเรียนกันเรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
ขั้นสอน
1.ครูอธิบายเรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยและให้นักเรียนฟังพร้อมทั้งแจกตัวอย่าง ข่าวหรือเหตุการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นพลเมืองดี และแสดงความคิดเห็น
2.ครูให้นักเรียนทำใบงานหน่วยที่ 1
ขั้นสรุป
1. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหาเรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยและจากใบงานที่1
8.สื่อการเรียนรู้
1. วีดีทัศน์ เรื่องพลเมืองดี
2. บัตรคำ / โปรแกรม Power point
3. ใบความรู้ เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
4. ใบงาน เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
5. พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
6.ข่าวการประพฤติตนเป็นพลเมืองดี
9.การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
1. วิธีวัด
- สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
- สังเกตพฤติกรรมการทำใบงาน / ตรวจใบงาน
2. เครื่องมือวัด
- แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
- ใบงานกิจกรรม
10.บันทึกผลการจัดการเรียนรู้บันทึกผลการจัดการเรียนรู้
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน / ผลการสอน
2. ปัญหาอุปสรรค
3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม