วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประเมินการใช้เครื่องมือบล็อก

ให้นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ แสดงความคิดเห็นการใช้บล็อกดังนี้

1. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
การทำงานแบบนี้เป็นสิ่งที่ดี  ได้มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการทำบล็อก และได้มีเกี่ยวกับความรู้เรื่องที่เราได้หาเพิ่มในเรื่องนั้นๆและรู้สึกว่ามีความสะดวกสบาย
2.นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ
ดิฉันรู้สึกว่าได้รบความมากมายเกี่ยวกับการทำบล็อก  เช่น  การทำสไลด์โชว์รูปภาพ การลิงค์ข้อมูลไปยังเว็บไซด์อื่นๆ  และสามารถที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
มีความสะดวกมาก  เราสามารถเปิดดูงานได้ตลอดเวลา ไม่ต้องเสียเวลาเดินหรือขับรถไปที่ต่างๆ  สามารถที่จะค้นคว้าได้ง่าย  และสามารถนั่งทำที่ใดก็ได้
4. นักศึกษามีความพึงพอใจ ในระดับใด เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่ แสดงความคิดเห็นและประเมินในเครื่องมือหน้าบล็อกของอาจารย์ เลือกตอบข้อเดียว(เลือกประเมินตามห้องและวิชาเอก)
มากที่สุดค่ะ

สอบครั้งที่ 2

ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้

1. Classroom Managemen
ความหมาย   ความสามรถในการจัดการห้องเรียนหรือการจัดการในชั้นเรียน
2. Happiness Classroom
ความหมาย  ห้องเรียนแห่งความสุข
3. Life-long Education
ความหมาย   การศึกษาตลอดชีวิต
4. formal Education
ความหมาย การศึกษานอกโรงเรียน
5. non-formal education
ความหมาย   การศึกษานอกระบบ
6. E-learning
ความหมาย   การเรียนแบบผ่านระบบทางไกล
7. graded
ความหมาย   ให้คะแนน
8. Policy education
ความหมาย   นโยบายการศึกษา
9. Vision 
ความหมาย   วิสัยทัศน์
10. Mission 
ความหมาย   หน้าที่
11. Goals 
ความหมาย   เป้าหมาย
12. Objective 
ความหมาย   วัตถุประสงค์
13. backward design 
ความหมาย   ย้อนกลับการออกแบบ
14. Effectiveness 
ความหมาย   ประสิทธิผล
15. Efficiency 
ความหมาย   ประสิทธิภาพ
16. Economy
ความหมาย  ระบบการจัดการ , เศรษฐกิจ
17. Equity
ความหมาย   ความเสมอภาค
18. Empowerment
ความหมาย   การเรียนรู้ที่ทันสมัย
19. Engagement 
ความหมาย   การเรียนแบบใหม่
20. project 
ความหมาย   โครงการ
21. activies
ความหมาย   ความอดทน
22. Leadership
            ความหมาย   ความเป็นผู้นำ
23. leaders
ความหมาย    ผู้นำ
24. Follows
ความหมาย    ดังต่อไปนี้
25. Situations
ความหมาย   สถานการณ์
26. Self awareness
ความหมาย   ความตระหนักในตนเอง
27. Communication
ความหมาย    การสื่อสาร
28. Assertiveness 
ความหมาย   การเริ่มเรียน
29. Time management
ความหมาย   การบริหารเวลา
30. POSDCoRB
ความหมาย   โปรแกรมชนิดหนึ่ง
31. Formal Leaders
ความหมาย    ผู้นำอย่างเป็นทางการ
32. Informal Leaders
ความหมาย    ผู้นำทางการ
33. Environment
ความหมาย    การทำความเข้าใจ
34. Globalization
ความหมาย   โลกาภิวัตน์
35. Competency
ความหมาย
36. Organization Cultural  
ความหมาย   วัฒนธรรมองค์กร
37. Individual Behavior 
ความหมาย   พฤติกรรมของบุคคล
38. Group Behavior
ความหมาย    พฤติกรรมกลุ่ม
39. Organization Behavior  
ความหมาย   พฤติกรรมองค์การ
40. Team working
ความหมาย    การทำงานเป็นทีม
41. Six Thinking Hats
ความหมาย   การคิดแบบหมวก  6  ใบ
42. Classroom Action Research 
ความหมาย   วิจัยในชั้นเรียน

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คำตอบข้อสอบ

1.Classroom managemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
Classroom management  คือ  ความสามรถในการจัดการห้องเรียนหรือการจัดการในชั้นเรียน  เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ  ถ้ามีการจัดการชั้นเรียนที่ดี  การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนที่เหมาะสมเพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน จะช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา แก่ผู้เรียน  ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียนด้วย

2.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
มาตรฐานวิชาชีพครูเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครูครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบวิชาชีพ   มาตรฐานวิชาชีพครู จะเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิ ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู  คือ  มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  และมาตรฐานการปฏิบัติตน

3.ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
ควรจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่เรียนตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน   นอกจากนี้ห้องเรียนควรมีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน และควรมีการเรียนการเรียนการสอนแบบ Student Centered ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

4.ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1)และข้อ(2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
            
ทางโรงเรียนควรมีการจัดภูมิทัศน์ สภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน  สภาพอาคารเรียนให้มีความปลอดภัย  เพราะสภาพแวดล้อมดังกล่าวจะช่วยส่งผลทำให้นักเรียนมีสุขภาพ ทากาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคมที่ดี ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดป้ายต่างๆที่เกี่ยวกับวิชาเรียนให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ แจกันดอกไม้ประดับชั้นเรียนให้สวยงาม จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนได้ทำกิจกรรม และคอยให้คำแนะนำในการเรียน ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย เหมือนอยู่ที่บ้านของตน

5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
  คุณภาพผู้เรียนคือการที่ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข เป็นผู้ที่มีความสามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ก้าวไกลสู่สากล และมีความเป็นพลเมืองที่สมบูรณ์  การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ต้องอาศัยการดำเนินการพัฒนาในกระบวนการต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันทั้งกระบวนการด้านหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดและการประเมินผล  เช่น  การจัดกิจกรรมหรือโครงการในการยกระดับคุณภาพผู้เรียนในด้านต่างๆ

6.ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
การที่จะปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักเรียนนั้นควรที่จะสอดแทรกไว้ในกิจกรรมของวิชาต่างๆเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติได้จริงหรือได้ซึมซับคุณธรรมจริยธรรมเหล่านั้น  เช่น  การสอดแทรกโดยใช้สื่อการเรียนรู้ ซึ่งทางผู้สอนได้คัดเลือกแล้วว่าสื่อการเรียนรู้ดังกล่าวมีเนื้อหาสอดคล้องกับรายวิชาและสามารถสร้างจิตสำนึกหรือปลุกเร้าให้นักศึกษาได้ซึมซับคุณธรรม จริยธรรมเหล่านั้นที่ต้องการให้เกิดกับตัวผู้เรียน

กิจกรรมที่ 14

การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind Mapping  สอนอย่างไร ? ดีอย่างไร? ยกตัวอย่างประกอบ 

จากวิธีการจดบันทึกทั่วไปลงในกระดาษไปจนจบบรรทัดแล้วขึ้นบรรทัดใหม่ ก็ให้ใช้การวาดภาพแทนประโยคยาว ๆ โดยการถ่ายทอดความคิด หรือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสมองลงในกระดาษ โดยการใช้ ภาพ สี เส้น และการโยงใยความรู้ที่มี  แทนการจดแบบเดิม
แผนที่ความคิดหรือ Mind Mapping  จะช่วยให้เกิดความคิดได้กว้างขวาง หลากหลาย ช่วยความจำ ช่วยให้งานต่าง ๆ มีความสมบูรณ์ ความคิดต่าง ๆ ไม่ขาดหายไป
ตัวอย่างเช่น  นำมาใช้ในการเรียนการสอนของรายวิชาต่างๆ

วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร

หมวก 6 ใบ เป็นเทคนิคการคิดอย่างมีระบบ  มีการจำแนกความคิดออกเป็นด้านๆ และคิดอย่างมีคุณภาพ เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนวคิดหลัก การคิดเป็นทักษะช่วยดึงเอาความรู้และประสบการณ์ของผู้คิดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ทักษะความคิดจึงมีความสำคัญที่สุด
การสอนแบบโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน  เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียนอย่างลุ่มลึก  โดยผ่านกระบวนการหลักคือ กระบวนการแก้ปัญหา  ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง  จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้


กิจกรรมที่ 13

   1) ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
จะเห็นว่าลักษณะพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมสุขภาพของเด็กไทยปัจจุบันนั้นไม่ค่อยเหมาะเท่าที่ควร  เพราะมีลักษณะการเลี้ยงดูที่ส่งเสริมให้เด็กมีภาวะโภชนาการเกินหรือเป็นโรคอ้วนได้ง่าย  มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ตลอดจนการเจริญเติบโตและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้วิถีชีวิตของคนปัจจุบันสุขสบายขึ้น มีเครื่องทุ่นแรงและอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ซึ่งล้วนแต่ทำให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายลดลง ทำให้เด็กมีกิจกรรมการออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวลดลง  จึงทำให้เกิดโรคอ้วน  สุขภาพร่างกายจึงอ่อนแอและเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้ง่าย

 2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม คำถามว่ามีโรคประจำตัวอะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก กำลังกายไหม)
            การที่จะมีสุขภาพที่ดีต้องรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ หารพักผ่อนที่เพียงพอ การออกกำลังกายอย่างถูกต้อง สังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรมทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยเปลี่ยนไป มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่ม ความขี้เกียจเข้าก็มากขึ้น  เด็กไทยในปัจจุบันอาจไม่ได้มีปฏิทินการออกกำลังกายอย่างจริงจัง  จะมีการออกกำลังกายตอนที่ว่างจากการเรียนคือตอนเย็น แต่บางคนต้องเรียนกวดวิชา จึงไม่ได้ออกกำลังกายได้เท่าที่ควร หรือเด็กบางคนติดเกมเล่นแต่เกมจนไม่ทำอะไร จึงทำให้มีสุขภาพที่ไม่ค่อยดีและก็มีโรคภัยอื่นๆตามมา
3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้) 
เด็กแต่ละคนควบคุมตนเองได้ดีไม่เท่ากันอาจเป็นเพราะพฤติกรรมการเรียนรู้ในวัยเด็กและสิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว  การเลี้ยงดูที่เหมาะสมสามารถช่วยกล่อมเกลาและการควบคุมอารมณ์ด้านลบของเด็กได้ พร้อมกับส่งเสริมอารมณ์ด้านบวกให้โดดเด่นยิ่งขึ้น แต่หากเด็กที่มีพื้นฐานของอารมณ์ไม่ดีแล้วไม่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเข้าใจ ก็จะยิ่งกระตุ้นให้อารมณ์ที่ไม่ดีเหล่านั้นกลายเป็นนิสัยถาวร ไร้การควบคุม ส่วนเด็กที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่พ่อแม่ทะเลาะกันอยู่เสมอจะกลายเป็นเด็กอารมณ์ร้ายและมีอีคิวต่ำ  นอกจากนี้วิธีการเลี้ยงดูเด็กก็มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็ก
4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
การที่โรงเรียนให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กพอๆกับการส่งเสริมด้านวิชาการนั้นก็เพื่อมุ่งให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และมีการฝึกปฏิบัติที่นำไปสู่การมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมต่อการมีสุขภาพดี  โดยสอดแทรกไว้ทั้งในหลักสูตรการศึกษาและผ่านทางกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 
5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจาชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
            สองสัปดาห์แรกของการเปิดเรียนครูอาจทำความรู้จักกับเด็กได้มากพอสมควร อาจจะพอจำแนกออกมาได้ว่าเด็กคนนั้นๆ  เป็นเด็กที่ควรจัดอยู่ในกลุ่มใด  โดยการสังเกตจากพฤติกรรมของเด็กจากการตั้งใจเรียน หรือ การมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเพื่อนของเด็กว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร  จึงสามารถที่จะจำแนกออกมาได้ว่าเด็กคนนั้นๆควรจัดอยู่ในกลุ่มใด
6) ครูประจาชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้นโดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง) 
            ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นกระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีขั้นตอน พร้อมด้วยวิธีการและเครื่องมือการทำงานที่ชัดเจน โดยมีครูประจำชั้นเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินการดังกล่าว และมีการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับครูที่เกี่ยวข้อง หรือบุคลากรภายนอก รวมทั้งการสนับสนุนส่งเสริมจากโรงเรียน  เช่น  กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน
เยี่ยมบ้านนักเรียน เพื่อเป็นการเข้าไปพบปะพูดคุย สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียนและสภาพความเป็นอยู่ของนักเรียน  เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาในด้านต่าง ๆเท่าที่ทางโรงเรียนจะสามารถช่วยเหลือได้  เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียนเป็นรายบุคคล  เพื่อทราบเกี่ยวกับสภาพปัญหาของตัวนักเรียน และจะได้นำข้อมูลในกรณีที่นักเรียนเกิดปัญหามาวิเคราะห์และหาแนวทางช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาต่อไป
7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา การควบคุมอารมณ์”)
ทางโรงเรียนจะมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต  โดยจะสอดแทรกเอาไว้ในกิจกรรมของวิชานั้นๆ  ให้นักเรียนได้ปฏิบัติ
8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
จะมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ  เพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเด็ก  และนำมาประเมินว่าโรงเรียนมีมาตรฐานด้านนั้นๆ มากน้อยเพียงใด
9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจาชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
       
มี  เพื่อนำมาใช้ในการสังเกตและประเมินนักเรียนว่ามีภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตเป็นเช่นไร  จะได้ดำเนินการช่วยเหลือ  สนับสนุน  หรือหาทางแก้ไขได้ต่อไป

กิจกรรมที่ 12

ได้ไปร่วมการจัดทำโครงการชวนน้องปลูกป่ารักษาท้องถิ่น เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีในการช่วยกันอนุรักษ์ป่าไม้ เพราะต้นไม้ช่วยทำให้อากาศสดชื่น และช่วนลดภาวะโลกร้อนได้ด้วย ทางนักศึกษาหลักสูตรสังคมศึกษาจึงเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น ซึ่งโครงการนี้จัดทำที่โรงเรียนวัดเขามหาชัย อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช  โดยนักศึกษาหลักสูตรสังคมศึกษา  จะอธิบายเกี่ยวกับประโยชน์ของต้นไม้  การดูแลต้นไม้อย่างไรให้มันอยู่ไปได้นานๆ ให้น้องๆได้รับฟัง  และได้ร่วมกันปลูกต้นไม้  และได้มีกิจกรรมนันทนาการให้น้องๆได้ตอบคำถามเพื่อรับของรางวัลเป็นอุปกรณ์การเรียนและขนมและเพื่อสร้างความสนุกสนานร่วมกันอีกด้วย