วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

การวิเคราะห์หลักสูตร
            
ในการวิเคราะห์หลักสูตร หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือแนวการจัดการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระนั้น คุณครูต้องนำมาตรฐาน ตัวชี้วัด สาระแกนกลาง กรอบสาระท้องถิ่นของเขตพื้นที่ สมรรถนะที่สำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์มาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา การออกแบบหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมี ความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดี ย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน เช่น การกำหนดลักษณะทั่วไป ซึ่งได้แก่ อายุ ระดับความรู้ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของผู้เรียนแต่ละคน ถึงแม้ว่าลักษณะทั่วไปของผู้เรียนจะไม่มี ความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียนก็ตามแต่ก็เป็น สิ่งที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถตัดสินระดับของ เนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้ ส่วนลักษณะเฉพาะของผู้เรียนแต่ละคนนั้น นับว่ามีส่วนสำคัญโดยตรงกับ เนื้อหาบทเรียนตลอดจนสื่อการสอนและวิธีการที่จะนำมาใช้ในการสอน การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  การสอนโดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ จะช่วยพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ทั้งด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ (ลักษณะนิสัย) และทั้งด้านการใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน
สื่อการเรียนรู้ หรือ สื่อการเรียนการสอน เป็นตัวกลางให้ผู้สอนได้ถ่ายทอดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ความคิดเห็น และเจตคติ ไปสู่ผู้เรียน รวมทั้งการใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง สื่อการเรียนรู้ครอบคลุมทั้งวัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยี และวิธีการการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ  การวัดและประเมินผลเป็นส่วนสำคัญของการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลจึงต้องปรับเปลี่ยนไป ให้มีลักษณะเป็นการประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และประเมินผลตามสภาพจริงด้วย
การประเมินผลตามสภาพจริง เป็นการประเมินผลผู้เรียนรอบด้านตามสภาพจริงของผู้เรียน มีลักษณะสำคัญดังนี้
        -  เน้นการประเมินที่ดำเนินการไปพร้อม ๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งสามารถทำได้ตลอดเวลา ทุกสภาพการณ์
        -  เน้นการประเมินที่ยึดพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนจริง ๆ
        -  เน้นการพัฒนาจุดเด่นของผู้เรียนใช้ข้อมูลที่หลากหลาย ด้วยเครื่องมือที่หลากหลายและสอดคล้องกับวิธีการประเมิน ตลอดจนจุดประสงค์ในการประเมิน
        -  เน้นคุณภาพผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ ความสามารถหลายๆ ด้าน
การประเมินด้านความคิด เน้นความคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์
เน้นให้ผู้เรียนประเมินตนเอง และการมีส่วนร่วมในการประเมินของผู้เรียน ผู้ปกครอง และครู
การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ ก่อน นำไปใช้ ครูต้องเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการประเมินตามสภาพจริง
ที่สำคัญที่สุด คือ การศึกษาด้วยตนเองและลงมือปฏิบัติจริง พัฒนาความรู้จากการลงมือปฏิบัติการแนะนำให้ผู้เรียนจัดทำแฟ้มสะสมงาน แฟ้มสะสมงานของผู้เรียน นอกจากจะแสดงพัฒนาการของผู้เรียนแล้ว ยังเป็นการสะท้อนการสอนของครู เพื่อจะนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป

ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  รายวิชา สังคมศึกษา ส 33101
สาระหน้าที่พลเมืองฯ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ภาคเรียนที่ 1/2554     ผู้สอนนางสาวอรชร  วรรณคง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย              เวลาเรียน 2 คาบ

1.สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม

2.มาตรฐานการเรียนรู้
            มาตรฐาน ส 2.1 ปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดีตามกฎหมาย ประเพณีและวัฒนธรรมไทย  ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และสังคมโลกอย่างสันติสุข

3.มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
                มาตรฐาน ส 2.1.1.   ตระหนักถึงคุณค่าในความเป็นพลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตยของตนเองและบุคคลอื่นที่มีศักยภาพในการทำประโยชน์ให้แก่สังคมและประเทศชาติ
                มาตรฐาน ส 2.1.2.   ตระหนักถึงสถานภาพ บทบาท สิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ในฐานะพลเมืองดีของสังคมและประเทศ เข้าใจความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชน เพื่อคุ้มครองปกป้องตนเองและคนอื่นให้ดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างสันติสุข ตลอดจนปฏิบัติตนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ

4.สาระสำคัญ
                ในสังคมของเรามีคนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นเพื่อให้สมาชิกของสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข จำเป็นต้องมีแนวทางหรือกฎระเบียบให้คนในสังคมประพฤติปฏิบัติ เนื่องจากในสังคมมีระบอบการเมืองการปกครอง วัฒนธรรม ประเพณี และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ  ที่แตกต่างกัน จึงมีกฎระเบียบให้ทุกคนยึดถือปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป ในสังคมประชาธิปไตยสมาชิกในสังคมควรปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีด้วยการปฏิบัติตามกฎหมาย หลักธรรมของศาสนา ประเพณีวัฒนธรรมไทย ดังนั้นทุกคนในสังคมประชาธิปไตยจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย หลักคำสอนทางศาสนา และประเพณีวัฒนธรรม เพื่อจะได้นำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง สังคมส่วนรวม และประเทศชาติ               

5.ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.       อธิบายการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคมได้
2.       อธิบายการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยได้           

6.วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                ด้านพุทธพิสัย (Knowledge)  
1.       เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคมได้
2.       เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และเข้าใจในการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยได้
                ด้านทักษะพิสัย (Process)
1.       นักเรียนสามารถบอกขั้นตอนและอธิบาย หรือ วิเคราะห์ การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของ
สังคมและการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยได้
                ด้านจิตพิสัย(Affective)
                                    1. นักเรียนสามารถประพฤติปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคมตามหลักคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม และประเพณีไทย ในสังคมปัจจุบันได้

7.เนื้อหาสาระ
ความเป็นพลเมืองดี
- พลเมืองดี รู้ และปฏิบัติตามกฎหมาย
                - พลเมืองดีมีจริยธรรม คุณธรรม ยึดมั่นในศีลธรรมของศาสนาเพื่อการอยู่ร่วมกัน
- พลเมืองดีรักษาวัฒนธรรมประเพณี
- พลเมืองดีรักษาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- พลเมืองดีสร้างความเจริญก้าวหน้าแก่ชาติบ้านเมือง

8.กระบวนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ใช้เวลา 2 คาบ แบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 ตอน เพื่อสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้
 คาบเรียนที่ 1  เรื่อง พลเมืองดี รู้ และปฏิบัติตามกฎหมาย และพลเมืองดีมีจริยธรรม คุณธรรม ยึดมั่นในศีลธรรมของศาสนาเพื่อการอยู่ร่วมกัน

           
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                    1.ครูให้นักเรียนชมวีดีทัศน์ เรื่อง โครงการคุณธรรมนำไทย เวลาประมาณ 2-4 นาทีแล้วสนทนาตั้งประเด็นคำถาม ดังเช่น
                            - นักเรียนดูวีดีทัศน์ นักเรียนสังเกตุเห็นสิ่งใดบ้าง อะไรบ้าง
                            - นักเรียนดูแล้วเกิดความรู้สึกอย่างไร แสดงความคิดเห็นอย่างไร
                    2.ครูนำบัตรคำ คำว่า พลเมือง พลเมืองดี ถามนักเรียนว่า  2 คำนี้มีความหมายว่าอย่างไร และมีส่วนเกี่ยวข้องกับวีดีทัศน์หรือไม่ อย่างไร
    3.ครูแจ้งให้นักเรียนทราบว่าในคาบเรียนนี้จะเรียนกันเรื่อง  พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย  
ขั้นสอน
                 1.ครูแจกใบความรู้เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยและให้นักเรียนศึกษาใบความรู้
                2.ครูอธิบายความเป็นพลเมืองดี พร้อมให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ไปพร้อมๆกัน
                3.ครูให้นักเรียนทำใบงานจากประเด็นคำถามต่อไปนี้
                        1.หากทุกคนในสังคมประพฤติตามหลักจริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรมแล้วจะมีส่วนช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและประเทศชาติอย่างไรบ้าง
                       2.นักเรียนมีวิธีการปฏิบัติตนเพื่อทำหน้าที่พลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยอย่างไร
                4.ครูสุ่มนักเรียนออกมาเสนอใบงานหน้าชั้นเรียน
ขั้นสรุป
                1.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหาเรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย สลับกับอธิบายวีดีทัศน์เพิ่มเติม
คาบเรียนที่ 2  พลเมืองดีแบบประชาธิปไตย                 
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                 1.ครูนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาอ่านให้นักเรียนฟัง เรื่องความเพียร และซักถามประเด็นดังเช่น
                        - นักเรียนฟังพระบรมราโชวาทแล้วนักเรียนเกิดความคิดเห็นอย่างไร
                2.ครูแจ้งให้นักเรียนทราบว่าในคาบเรียนนี้จะเรียนกันเรื่อง  พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย

  ขั้นสอน
                 1.ครูอธิบายเรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยและให้นักเรียนฟังพร้อมทั้งแจกตัวอย่าง ข่าวหรือเหตุการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นพลเมืองดี  และแสดงความคิดเห็น
 2.ครูให้นักเรียนทำใบงานหน่วยที่ 1
ขั้นสรุป
1. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหาเรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยและจากใบงานที่1

8.สื่อการเรียนรู้
                   1. วีดีทัศน์ เรื่องพลเมืองดี
                   2.  บัตรคำ / โปรแกรม  Power point
                 3. ใบความรู้ เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย  
                   4. ใบงาน เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย  
                   5. พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                   6.ข่าวการประพฤติตนเป็นพลเมืองดี

9.การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
             1. วิธีวัด
                   - สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
                   - สังเกตพฤติกรรมการทำใบงาน / ตรวจใบงาน
             2. เครื่องมือวัด
                   - แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
                   -  ใบงานกิจกรรม

10.บันทึกผลการจัดการเรียนรู้บันทึกผลการจัดการเรียนรู้
             1.   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน / ผลการสอน
             2.   ปัญหาอุปสรรค
             3.   ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

กิจกรรมที่ 10

1)      กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ 
กรณีปราสาทเขาพระวิหาร เป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชากับราชอาณาจักรไทย ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 ในการอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชายแดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหาร ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่ทั้งไทยและกัมพูชา ถือแผนที่ปักปันเขตแดนตามแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2502
คดีนี้ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ท่ามกลางความไม่พอใจของฝ่ายไทย ซึ่งเห็นว่าศาลโลกตัดสินคดีนี้อย่างไม่ยุติธรรม เนื่องจากศาลโลกยึดติดอยู่บนแผนที่ฉบับเดียว โดยที่ศาลโลกมิได้มีการตรวจสอบสถานที่อย่างจริงจังตามข้อตกลงไทย-ฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม การตัดสินคดีครั้งนี้ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องอาณาเขตทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา ในบริเวณดังกล่าวให้หมดไป และยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังต่อมาจนถึงปัจจุบัน


2)  กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
สุรินทร์

ขณะที่แผนที่ชุด L 7017 มาตราส่วน 1: 50,000 ปี 2527 ที่ฝ่ายไทยยึดถือ และแผนที่ชุด L 7016 มาตราส่วน 1: 50,000 ปี 2514 จัดทำโดยสหรัฐอเมริกาที่ฝ่ายกัมพูชายึดถือ ปรากฏเส้นเขตแดนตรงกันคือ ตัวปราสาทตาเมือนธมอยู่ในเขตกัมพูชา และอีก 2 ปราสาท (ตาเมือนโต๊ด, ตาเมือน) อยู่ในเขตไทย ปัจจุบันปัญหาบริเวณดังกล่าวจึงยังไม่ได้ข้อยุติ
ศรีสะเกษ
กรณีปรากฏข่าวสารว่ากัมพูชากล่าวหาว่าทหารไทยสร้างอาคารบริเวณผามออีแดง (เขาพระวิหาร) อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ นั้น จากการตรวจสอบพบว่า ไทยได้สร้างศาลาที่พักนักท่องเที่ยวตั้งแต่ปลายปี 2545 และบริเวณดังกล่าวอยู่ในเขตแดนไทย ปัจจุบันได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ ส่วนบริเวณช่องตาเฒ่า อำเภอกันทรลักษ์ ทหารไทยได้สร้างบังเกอร์ ซึ่งอยู่ในเขตไทยเช่นกัน
ความคืบหน้าการเปิดจุดผ่านแดนถาวรตามมติครม.ร่วมไทย กัมพูชา
สระแก้ว
พื้นที่ จ.สระแก้ว ที่อยู่ในความดูแลของกองกำลังบูรพา ตั้งแต่ อ.ตาพระยา อ.คลองหาด (หลักเขตที่ 28-51) มีหลักเขตที่สมบูรณ์ 11 หลักเขต สูญหายจำนวน 6 หลักเขต แต่ที่มีเหตุให้เกิดการล้ำแดน คือ
3.1 บริเวณหลักเขตที่ 31-32 เนิน 48 อ.ตาพระยา โดยไทยและกัมพูชายึดแผนที่อ้างอิงต่างกัน ไทยยึดแผนที่ชุด L 7017 ที่ไทยและสหรัฐจัดทำเมื่อปี 2512-2514 แต่กัมพูชายึดแผนที่ชุด L 7016 จัดทำโดยฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ.2497
3.2 หลักเขตที่ 35 บริเวณจุดผ่อนปรนตาพระยา-บึงตรอกวน อ.ตาพระยา ซึ่งหลักเขตดังกล่าวสูญหาย ทำให้ไม่สามารถกำหนดเส้นเขตแดนที่ชัดเจนได้ และกัมพูชายังกล่าวหาฝ่ายไทยว่าก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์บางส่วนรุกล้ำเขตแดนกัมพูชา
3.3 หลักเขตที่ 37-40 บริเวณเขาพนมปะ และเขาพนมฉัตร อ.ตาพระยา ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างยึดถือแผนที่อ้างอิงต่างกัน
3.4 หลักเขตที่ 46-48 ต.โนนหมากมุ่น กิ่ง อ.โคกสูง ถูกราษฎรกัมพูชาบ้านโชคชัย จังหวัดบันเตียเมียนเจย ประมาณ 200 คน รุกล้ำเข้ามาปลูกที่อยู่อาศัยในเขตไทยห่างจากชายแดนประมาณ 300 เมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 400 ไร่ นอกจากนี้หลักเขตที่ 48 ยังถูกทำลายด้วย
3.5 พื้นที่บ้านป่าไร่ใหม่ ต.ป่าไร่ อ.อรัญประเทศ ใกล้หลักเขตที่ 49 ฝ่ายกัมพูชาก่อสร้างกำแพงคอนกรีตในบริเวณดังกล่าว แต่ยอมยุติการก่อสร้างและยอมให้ไทยรื้อ
ถอนบางส่วน ซึ่งฝ่ายกัมพูชาได้นำกำลังตำรวจเข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการในเขตกัมพูชาใกล้บริเวณดังกล่าว
3.6 พื้นที่บริเวณจุดผ่านแดนถาวรคลองลึก อ.อรัญประเทศ เกิดจากการปรับพื้นที่เพื่อก่อสร้างบ่อนการพนันในเขตกัมพูชา อันเป็นเหตุให้ลำน้ำคลองลึก คลองพรมโหด ที่ใช้เป็นเส้นเขตแดนตื้นเขินและเปลี่ยนทิศทาง
3.7 หลักเขตที่ 51 บ้านคลองหาด อ.คลองหาด (เขาตาง็อก) ไทยและกัมพูชาต่างใช้แผนที่อ้างอิงที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดพื้นที่เหลื่อมทับกันประมาณ 3 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 1,875 ไร่ ซึ่งฝ่ายกัมพูชาเข้าทำการปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างไว้ และกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (กปช.จต.) ได้เข้าเจรจาให้รื้อถอนออกไปแล้ว
ตราด
5.1 บริเวณบ้านคลองสน บ้านคลองกวาง-ตากุจ อ.คลองใหญ่ บนเส้นเขาบรรทัด เนื่องจากกัมพูชาได้สร้างถนนสาย K5 ล้ำเข้ามาในเขตไทยประมาณ 500 เมตร รวมระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ซึ่งฝ่ายกัมพูชายอมรับว่าสร้างล้ำเข้ามาจริง ทาง กปช.จต.จึงได้ปิดเส้นทางในส่วนที่ล้ำเข้ามา พร้อมทั้งตั้งจุดตรวจและลาดตระเวนตามเส้นทางอย่างต่อเนื่อง
5.2 บริเวณบ้านหนองรี อ.เมือง กำลังทหารสังกัดร้อย ปชด.1 พัน ปชด.501 ได้เข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการบริเวณพิกัด TU.509454 ลึกเข้ามาในเขตไทยประมาณ 300 เมตร กปช.จต.ได้กดดันมิให้ฝ่ายกัมพูชาก่อสร้างอาคารเพิ่มเติม
5.3 หลักเขตแดนที่ 72,73 จุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ โดยหลักเขตที่ 72 สูญหาย และมีการอ้างอิงแนวเขตจากหลักเขตที่ 73 ไปยังหลักเขตที่ 72 แตกต่างกัน ฝ่ายกัมพูชายึดถือค่าพิกัด TT.724886 ส่วนไทยยึดถือที่ค่าพิกัด TT.725884 ทำให้มีพื้นที่เหลื่อมทับกันประมาณ 100 ไร่ ซึ่งฝ่ายกัมพูชาพยายามก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างถาวรในพื้นที่ แต่ กปช.จต.ได้กดดันให้ยุติ
 เส้นเขตแดนทางน้ำ
ไทยและกัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยแตกต่างกัน ฝ่ายกัมพูชาประกาศเมื่อ 1 ก.ค.2515 โดยลากเส้นจากจุดอ้างอิงที่ละติจูด 11 องศา 38.88 ลิปดาเหนือ ลองจิจูด 102 องศา 54.81 ลิปดาตะวันออก ผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเลยไปถึงระยะกึ่งกลางระหว่างหลักเขตที่ 73 ส่วนฝ่ายไทยประกาศเขตไหล่ทวีปเมื่อ 18 พ.ค.2516 โดยกำหนดจุดอ้างอิงที่ 1 ที่ละติจูด 11 องศา 39 ลิปดาเหนือ ลองจิจูด 102 องศา 55 ลิปดาตะวันออก ที่บ้านหาดเล็ก แล้วลากเส้นเกาะกง จากนั้นแบ่งครึ่งมุมระหว่างเส้นฐานตรงออกเป็นมุมภาคทิศ 211 องศา ไปยังตำแหน่งของจุดที่ 2
                3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
MOU 43 คือการร่วมกันดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรไทย กับราชอาณาจักรกัมพูชา
สำหรับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจาก MOU 43 นั้น ต้องบอกว่าเหลือคณานับ แต่ประเด็นที่สำคัญที่สุดเห็นจะเป็นเรื่องอธิปไตยเหนือดินแดนไทยที่จะต้อง เปลี่ยนไปถึงขั้นต้องตีพิมพ์แผนที่ประเทศไทยใหม่กันทีเดียว
4)  กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชา
จากกรณีที่ 7 คนไทยได้ถูกทหารกัมพูชาถูกจับกุมเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2554 กรณีคนไทย 7 คนที่ถูกประเทศกัมพูชาจับกุม ในกรณีนี้ไม่แน่นอนอยู่ว่าไทยลุกล้ำดินแดนของกัมพูชาอย่างไรเพราะเป็นพื้นที่พิพาทกันอยู่ดังนั้นรัฐบาลจะต้องช่วยเหลือคนเหล่านี้ให้สำเร็จ  ไปคนไทยจะได้ไม่เป็นเหยื่อของการพิพาทของดินแดนอีกต่อไป  โดยล่าสุดนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมคนไทยอีก 4 คนได้เดินทางกลับประเทศไทยแล้ว  เมื่อศาลพิพากษาจำคุก 9 เดือนแต่ให้รอลงอาญา
สุรินทร์มีปัญหาพรมแดนติดต่อกับกัมพูชาทางด้าน อ.กาบเชิง บัวเชด สังขะ และกิ่งอำเภอพนมดงรัก ซึ่งเขตแดนติดต่อมีลักษณะเป็นป่า มีทิวเขาพนมดงรักกั้นตลอดแนว ส่วนหนึ่งประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ และตามแนวชายแดนซึ่งเป็นเขตแดนทางบกมีช่องทางขึ้นลงจำนวนมาก
ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเฉพาะที่สำคัญ ได้แก่
1.1 กลุ่มปราสาทตาเมือน
1.2 ปราสาทตาควาย ตั้งอยู่ในเขตบ้านไทยนิยมพัฒนา หมู่ 17 ต.บักได
ช่วงปี 2544 ราษฎรกัมพูชาได้แพร่กระจายข่าวว่า ปราสาทตาเมือนและปราสาทตาควายเป็นของกัมพูชา และกัมพูชาอาจยื่นข้อเรียกร้องอ้างสิทธิเหนือปราสาททั้งสองแห่ง ซึ่งในการประชุมเจ้าหน้าที่เทคนิคไทย-กัมพูชา  ฝ่ายไทยเสนอว่าขอให้จัดชุดสำรวจร่วมทำการเดินตรวจสอบแนวสันปันน้ำในภูมิประเทศบริเวณปราสาท เพื่อพิสูจน์ทราบตำแหน่งประสาททั้งสามหลัง โดยยึดถือตามแนวสันปันน้ำต่อเนื่องในภูมิประเทศเป็นเส้นเขตแดน
แต่ฝ่ายกัมพูชาชี้แจงว่า ได้ตรวจสอบตำแหน่งของปราสาททั้ง 2 หลัง (ตาเมือนธม, ตาเมือนโต๊ด) แล้ว ประกอบกับหลักฐานบันทึกว่าจากการปักปันเขตแดน หมายเลขที่ 23 ระหว่างไทย-ฝรั่งเศส ปี ค.ศ.1908 แสดงสัญลักษณ์ตัวปราสาท 2 หลังอยู่ในเขตกัมพูชา